งานวิจัยที่สำคัญ ของ เพเทอร์ กรืนแบร์ค

ใน พ.ศ. 2529 เขาได้ค้นพบชั้นแม่เหล็กอย่างแรง (ferromagnetic layers) ที่มีการเข้าคู่แลกเปลี่ยน (exchange coupling) ของสภาพต่อต้านเชิงขนาน (antiparallel) และใน พ.ศ. 2531 เขาได้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ (giant magnetoresistive effect ชื่อย่อ GMR) ในชั้นแม่เหล็กหลายชั้นที่เข้าคู่กันในลักษณะนั้น [2] ปรากฏการณ์นี้ได้ถูกค้นพบขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างเป็นอิสระต่อกัน โดยอาลแบร์ แฟร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส-ซูด (Université de Paris Sud) งานของกรืนแบร์คทำให้เขาได้รับรางวัลร่วมหลายรางวัล ได้แก่ รางวัลระหว่างประเทศสำหรับวัสดุใหม่ของสมาคมฟิสิกส์อเมริกัน, รางวัลสภาพแม่เหล็กจากสหภาพฟิสิกส์บริสุทธิ์และฟิสิกส์ประยุกต์ระหว่างประเทศ, รางวัลฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์, รางวัลวุล์ฟ สาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2549/2550 และรางวัลญี่ปุ่น พ.ศ. 2550 ก่อนจะได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปีเดียวกัน นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติของเยอรมนี คือ รางวัลอนาคตเยอรมัน พ.ศ. 2541 สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอีกด้วย

ใกล้เคียง

เพเทอร์ กรืนแบร์ค เพเทอร์ พาร์เลอร์ เพเทอร์ โฟเกิล (ศิลปิน) เพเทอร์ ยอร์ดัน (นักแสดง) เพเทอร์ แอร์ลิช เพเทอร์ ฟริคเคอ เพเทอร์ เบเรินส์ เพเทอร์ ซุมทอร์ เพเทอร์ เบล็ชเชอร์ เพเทอร์ เฮอเกิล